วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

สำนวนไทย


สำนวนไทย

            เป็นที่ทราบกันดีว่า คนไทยเป็นพวกเจ้าบทเจ้ากลอน จะพูดจาหรือสั่งสอนใคร ก็มักจะอ้างเอาสำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยที่พูดต่อ ๆ กันมาตั้งแต่ครั้งโบราณมาเปรียบเทียบเปรียบเปรยเสมอ ซึ่งคำเหล่านี้มักจะเป็นคำที่คล้องจองกัน ทำให้จดจำได้ง่ายและเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

            ที่สำคัญ สำนวนไทยยังมีเสน่ห์ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยการดึงเอาสิ่งที่อยู่รอบตัวมาเปรียบเทียบ ดังนั้น เราอาจพูดได้ว่า สำนวนไทยมีความผูกพันกับชีวิตของเราอย่างใกล้ชิด และยังให้ข้อคิดสอนใจ ซึ่งสำนวนไทยนั้นมีอยู่มากมาย แต่เชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนอาจยังไม่เข้าใจความหมายของ สำนวนไทย บางคำ หรือบางประโยค แม้จะได้ยินอยู่บ่อย ๆ ก็ตาม วันนี้ กระปุกดอทคอม มีเกร็ดความรู้เรื่องนี้มาฝากกันค่ะ

            สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงได้ตายตัว สลับที่หรือตัดตอนไม่ได้ มีความหมายเชิงเปรียบเทียบลึกซึ้งโดยครอบคลุมไปถึง ภาษิต สุภาษิต และคำพังเพย โดยสามารถแยกได้เป็น...

สำนวนที่มีเสียงสัมผัส

- เรียง 4 คำ ต้นร้ายปลายดี น้ำใสใจจริง
- เรียง 6 คำ ฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด บ้านเคยอยู่อู่เคยนอน
- เรียง 8 คำ รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้
- เรียง 10 คำ คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ
- เรียง 12 คำ ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน มีเงินเขานับว่าน้อง มีทองเขานับว่าพี่

สำนวนที่ไม่มีเสียงสัมผัส

- เรียง 2 คำ ชิมลาง ขบเผาะ
- เรียง 3 คำ ถ่านไฟเก่า คมในฝัก
- เรียง 5 คำ น้ำขึ้นให้รีบตัก ขนหน้าแข้งไม่ร่วง
- เรียง 6 คำ ถ่มน้ำลายแล้วกลืนกิน ยกภูเขาออกจากอก

ที่มาของสำนวน

1 สำนวนที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่
ข้าวเหลือเกลืออิ่ม ทรัพย์ในดินสินในน้ำ บ้านเคยอยู่อู่เคยนอน

2 สำนวนเกี่ยวกับพืช
ขิงก็ราข่าก็แรง มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก ใบไม้ร่วงจะออกช่อ

3 สำนวนเกี่ยวกับสัตว์
โง่เง่าเต่าตุ่น ตีปลาหน้าไซ นกมีหูหนูมีปีก

4 สำนวนเกี่ยวกับนิทาน
กิ้งก่าได้ทอง กระต่ายตื่นตูม เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ชาวนากับงูเห่า


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น