วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจสอบ บัญชี

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสอบบัญชี


1.       การสอบบัญชีคืออะไร

การสอบบัญชี คือ การตรวจสอบสมุดบัญชี เอกสารประกอบการลงบัญชี และหลักฐานอื่นๆ

โดยผู้ประกอบวิชาชีพสอบบัญชี ตามแนวทางปฏิบัติงานที่วิชาชีพได้กำหนดเป็นมาตรฐานไว้เพื่อที่ให้ผู้สอบบัญชีจะสามารถวินิจฉัย และแสดงความเห็นได้ว่างบการเงินที่กิจการจัดทำขึ้นขัดกับข้อเท็จจริง อันเป็นสาระสำคัญและเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปเพียงใด หรือไม่

2.       วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบบัญชี มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ  คือ
  การตรวจสอบการปฏิบัติตามระบบ (Compliance Test)
      เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้ประเมินได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่า    การควบคุมภายในที่
องค์กรกำหนดขึ้นนั้น ได้มีการปฏิบัติตามระบบบัญชีและการควบคุมภายในอย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ  ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นให้ระบบการควบคุมภายในยิ่งขึ้น
                                       วิธีการทดสอบการปฏิบัติตามระบบ  จัดทำได้โดย
                                       2.1  การทดสอบรายการบัญชี  เป็นการตรวจดูเอกสารหลักฐานต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าการควบคุมภายในที่กำหนดไว้ ได้มีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง กล่าวคือ มีการอนุมัติรายการโดยผู้มีอำนาจก่อนการบันทึกบัญชี
                                      2.2  การปฏิบัติงานซ้ำ  เป็นการทดสอบว่า การปฏิบัติงานเป็นไปตามระบบและวิธีการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้  โดยการปฏิบัติงานซ้ำตามวิธีที่พนักงานปฏิบัติ อาจจะเป็นบางขั้นตอน หรือทั้งหมด เช่น การทดสอบระบบการรับเงินฝาก เป็นต้น
                                      2.3  การสอบถามและการสังเกตการณ์  เป็นการสังเกตดูการปฏิบัติงานจริง ขณะที่พนักงานปฏิบัติงานอยู่ เพื่อดูว่ามีการละเมิดหรือละเว้นการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในที่วางไว้หรือไม่ เช่น การสังเกตดูว่ามีพนักงานคนใดได้ปฏิบัติงานที่ตนไม่ได้รับมอบหมาย หรือไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นหรือไม่

                กรณีที่ผู้ประเมินพบว่า  การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามระบบการควบคุมภายใน

ผู้ประเมินควรหาสาเหตุว่าเกิดขึ้นเนื่องจากอะไร และมีความถี่มากน้อยเพียงใด  ตลอดจนโอกาสจะเกิดความผิดพลาด บกพร่อง หรือการทุจริต อันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร ถ้าผู้ประเมินได้รับการ      ชี้แจงแล้วแต่ยังไม่มีความมั่นใจว่าจะเหมาะสมหรือเพียงพอ  ผู้ประเมินอาจไม่มีความเชื่อถือในระบบการควบคุมภายใน  และต้องทำการทดสอบความถูกต้องของรายการบัญชีและยอดคงเหลือโดยการทดสอบในสาระสำคัญ (Substantive test)

  การตรวจสอบรายการบัญชีและยอดคงเหลือโดยการทดสอบในสาระสำคัญ
(Substantive Test)
                                     หมายถึง การตรวจสอบหลักฐานประกอบรายการที่ปรากฏในงบการเงิน ซึ่งจะกระทำภายหลังการตรวจสอบระบบข้อมูล เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินได้
                                      เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลักในการตรวจสอบ
2.1  ความมีอยู่จริงหรือเกิดขึ้นจริง
 ผู้สอบบัญชี จะทดสอบรายการที่ปรากฏอยู่ในงบการเงิน ไม่ว่าจะสินทรัพย์ หนี้สิน
ทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย ว่าจะต้องเป็นรายการที่มีอยู่จริงหรือเกิดขึ้นจริงในกิจการที่รับตรวจสอบ
2.2  ความถูกต้องและครบถ้วนของรายการ
โดยทั่วไปรายการประเภทสินทรัพย์   และรายได้มักจะมีแนวโน้มที่จะแสดงไว้สูงกว่า
ที่มีอยู่จริง ในขณะที่รายการประเภทหนี้สิน และค่าใช้จ่ายมักจะมีแนวโน้มที่จะแสดงไว้ต่ำกว่าที่มีอยู่จริง   ดังนั้น ผู้สอบบัญชีจึงต้องพิสูจน์ว่ารายการเหล่านี้ได้ถูกบันทึกไว้อย่างถูกต้องและครบถ้วน (ไม่สูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริงในส่วนที่มีสาระสำคัญ
2.3  กรรมสิทธิ์และภาระหนี้สิน

รายการที่จะบันทึกเป็นสินทรัพย์ของกิจการ     จะต้องเป็นสิ่งที่กิจการมีกรรมสิทธิ์

และรายการที่จะบันทึกเป็นหนี้สินได้จะต้องเป็นสิ่งที่กิจการมีภาระในการจ่ายชำระ ผู้สอบบัญชีจึงต้องหาหลักฐานเพื่อดูว่า สินทรัพย์และหนี้สินที่บันทึกในงบการเงินมีกรรมสิทธิ์และภาระหนี้สินจริง
2.4  การตีราคาหรือการกระจายราคา

รายการที่แสดงในงบการเงิน จะต้องเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป  เช่น

รายการที่เกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศจะต้องมีการแปลงค่าเป็นเงินบาทตามอัตราที่หลักการบัญชีได้ระบุไว้ การตีราคาสินค้าคงเหลือต้องตีตามราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่ได้รับ เป็นต้น  ดังนั้น ผู้สอบบัญชีจะต้องตรวจสอบว่ารายการเหล่านี้มีการแสดงมูลค่าถูกต้อง
      2.5  การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน
นอกจากรายการที่ปรากฏอยู่ในงบการเงินแล้ว  ผู้สอบบัญชีจะต้องคำนึงถึง
รายละเอียดที่ปรากฏอยู่ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เช่น เรื่องการนำสินทรัพย์ไปค้ำประกันเงินกู้ยืม    ผู้สอบบัญชีต้องพิจารณาว่าได้มีการเปิดเผยข้อมูลไว้หรือไม่ การมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (สหกรณ์ถูกฟ้องร้องและอยู่ระหว่างการดำเนินคดี) เป็นต้น  เพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน



3.       ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
ผู้สอบบัญชีเพียงแต่แสดงความเห็นต่องบการเงินเท่านั้น      มิใช่ว่ารับประกันความถูกต้อง
ของบรรดางบการเงินต่าง ๆ  ในการปฏิบัติการตรวจสอบ  หากผู้สอบบัญชีตรวจสอบตามมาตรฐานการ สอบบัญชีที่รับรองทั่วไปแล้ว ผู้สอบบัญชีย่อมต้องตรวจสอบพบข้อบกพร่องอันพึงปรากฏ (ถ้ามี) จากการตรวจสอบตามมาตรฐานฯ นอกเหนือจากนี้แล้วผู้สอบบัญชีไม่ต้องรับผิดชอบ รวมทั้งความรับผิดชอบเกี่ยวกับการค้นหาทุจริต (แต่ผู้สอบบัญชีอาจต้องขยายเวลาการตรวจสอบหรือหาหลักฐานเพิ่มขึ้นเพื่อความเพียงพอต่อการแสดงความเห็นเว้นแต่ ผู้สอบบัญชีจะปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง  นอกเหนือจากหน้าที่ที่จะต้องตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานแล้ว     ผู้สอบบัญชียังจะต้องรักษาความลับของลูกค้าที่ได้มาจากการตรวจสอบด้วย

4.       หลักฐานในการสอบบัญชี
หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ผู้สอบบัญชีต้องรวบรวมขึ้น เพื่อให้สามารถแสดงความเห็นว่า
งบการเงินของกิจการที่ตรวจสอบนั้นไม่ขัดกับข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญและเชื่อถือได้เพียงใด
                                คุณลักษณะของหลักฐาน
1)      ความเพียงพอของหลักฐาน จะพิจารณาจากปริมาณของหลักฐาน
2)      ความเชื่อถือได้ของหลักฐาน จะพิจารณาจากคุณภาพของหลักฐาน
ปัจจัยที่กระทบความเชื่อถือได้ของหลักฐาน
1.       แหล่งที่มาของหลักฐาน
-          หลักฐานที่มาจากภายนอก (บุคคลที่สาม) เชื่อถือได้มากกว่าหลักฐานที่มาจากภายในกิจการเอง
-          หลักฐานที่ผู้สอบบัญชีรู้เห็นด้วยตนเอง หรือทดสอบด้วยตนเอง เชื่อถือได้มากกว่า
2.       ประสิทธิภาพการควบคุมภายใน
กิจการที่มีระบบการควบคุมภายในดี หลักฐานจะมีเชื่อถือได้มากกว่า
3.       วิธีการที่ใช้และเวลาในการได้หลักฐาน
หลักฐานที่ได้รับมาโดยตรง ในเวลาที่เหมาะสมจะเชื่อถือได้มากกว่า เช่น การตรวจนับ
สินค้าคงเหลือ ณ วันปิดบัญชี จะทำให้สามารถเชื่อถือปริมาณของสินค้าที่มีอยู่ ณ วันสิ้นปีมากกว่าใช้วิธีการตรวจสอบอื่นหรือในเวลาอื่น
4.       ความเหมาะสมของผู้ที่ให้ข้อมูล
หลักฐานที่มาจากการสอบถามและขอคำรับรองจะต้องพิจารณาความเหมาะสมของ
ผู้ที่ให้ข้อมูล ถ้าเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำการตรวจสอบโดยตรง จะได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากกว่า

5.       ประสบการณ์จากการตรวจสอบครั้งก่อน
จะช่วยประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้มากกว่าการที่ไม่เคยตรวจสอบกิจการนั้น
6.       หลักฐานที่เป็นความจริงหรือความเห็น
หลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีอยู่จริง เชื่อถือได้มากกว่าหลักฐานประเภทความเห็น
7.       ความเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้ข้อมูลผิดพลาด
กิจการที่ผู้สอบบัญชีประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงสูง จะทำให้ความน่าเชื่อถือของ
หลักฐานลดลง

5.       ความเสี่ยงในการสอบบัญชี (Audit Risk)  แบ่งเป็น
1.       ความเสี่ยงสืบเนื่อง   (Inherent Risk :  IR )  เป็นความเสี่ยงที่มักจะมีอยู่โดยธรรมชาติ
จากการที่กิจการดำเนินธุรกิจนั้น ๆ เช่น กิจการทำธุรกิจให้กู้ยืมเงิน อาจมีความเสี่ยงจากการเก็บหนี้ไม่ได้ตามกำหนด เป็นต้น
2.       ความเสี่ยงเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายในของลูกค้า (Control Risk : CR ) ซึ่งไม่อาจ
ป้องกัน  หรือแก้ไขข้อผิดพลาด (Control risk) ได้
3.       ความเสี่ยงเกี่ยวกับการตรวจสอบที่ไม่พบความผิดพลาดที่มีสาระสำคัญ (Detection
risk) เช่น ผู้สอบบัญชีใช้วิธีการตรวจสอบที่ไม่มีประสิทธิภาพ เลือกตัวอย่างไม่ถูกต้อง
                                Inherent risk and Control risk เป็นความเสี่ยงซึ่งเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจของกิจการนั้น ๆ  ซึ่งสภาพแวดล้อม ลักษณะ หรือประเภทของบัญชี จะเป็นตัวกำหนด โดยไม่เกี่ยวข้องกับวิธีการตรวจสอบ
                                แม้ว่าผู้สอบบัญชีจะไม่สามารถควบคุม Inherent risk and Control risk ได้  แต่ผู้สอบบัญชีสามารถประเมินความเสี่ยงดังกล่าว  เพื่อกำหนดขอบเขตในการตรวจสอบที่มีสาระสำคัญ ซึ่งทำให้ Detection risk อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้  ซึ่งจะทำให้ความเสี่ยงของการสอบบัญชีอยู่ในระดับต่ำ

6.       แนวการสอบบัญชี (Audit Program)  คืออะไร
ในการสอบบัญชี ผู้สอบจะต้องจัดเตรียมแนวการสอบบัญชีสำหรับการตรวจสอบในแต่ละ
รายการในงบการเงินเพื่อ
1.       ใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนการตรวจสอบที่กำหนดแนวทางไว้ล่วงหน้าอย่างชัดเจน 
โดยการนำเอาเทคนิคต่าง ๆ มาใช้เป็นวิธีการตรวจสอบเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้
2.       ใช้เป็นเครื่องมือในการมอบหมายงานและติดตามงาน หรือการควบคุมการปฏิบัติงาน
ของผู้ช่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.       ใช้เป็นหลักฐานแสดงการปฏิบัติงานตรวจสอบ ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระดาษทำการ
ของผู้สอบบัญชี
                                แนวการสอบบัญชี ควรจัดทำไว้ล่วงหน้าเพื่อการปฏิบัติงาน และปรับปรุงได้ตาม     ความเหมาะสมในระหว่างปี  ซึ่งแนวการสอบบัญชีนั้นควรจะต้องสัมพันธ์กับการประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายใน (ดูได้จากแบบจัดชั้นคุณภาพสหกรณ์)

7.       การแสดงความเห็นต่องบการเงิน  มี 4 แบบ  คือ
1.       แบบไม่มีเงื่อนไข (UNQUALIFIED OPINION)
2.       แบบมีเงื่อนไข (QUALIFIED OPINION)
3.       แบบไม่แสดงความเห็น (DISCLAIMER OPINION)
4.       แบบงบการเงินไม่ถูกต้อง (ADVERSE OPINION)

8.       มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป และการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี
หมายถึงอะไร
                        มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป หมายถึง หลักการพื้นฐานและวิธีการตรวจสอบ     ที่สำคัญ รวมทั้งแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่อยู่ในรูปของคำชี้แจง หรือรูปลักษณะอื่น ตามปกติจะกำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย และสอดคล้องกับมาตรฐานการสอบบัญชีระหว่างประเทศ (ISAS)
                        ถ้าสมาคมฯ ยังมิได้กำหนดหลักการบัญชีในเรื่องใด อาจศึกษาเพิ่มเติมจากตำราประกาศหรือระเบียบปฏิบัติขององค์กรอื่น ๆ  เช่น ก.บชตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  วิธีการตรวจสอบนั้น    ผู้สอบบัญชีต้องพิจารณาถึงมาตรฐานการสอบบัญชีด้วย เพราะมาตรฐานเป็นเครื่องวัดว่าควรใช้วิธีการตรวจสอบอย่างใด และเพียงใด  จึงจะให้ผลงานเป็นที่รับรองกันโดยทั่วไป
                        การตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี หมายถึง การใช้วิธีการตรวจสอบต่าง ๆ ที่  ผู้สอบบัญชีในประเทศไทยถือใช้ โดยปกติแล้ววิธีการตรวจสอบดังกล่าวย่อมพัฒนาไปตามประเพณี การค้าและความต้องการของวงการธุรกิจในประเทศไทย และต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายไทยด้วย   นอกจากนี้ ผู้สอบบัญชีต้องมีประสบการณ์หรือมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่ตนตรวจสอบด้วย

9.       การเปลี่ยนแปลงหลักการบัญชี

หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลักการบัญชีหรือวิธีการบัญชีที่กิจการใช้อยู่ในปีปัจจุบัน 

ซึ่งแตกต่างไปจากที่ใช้ในปีก่อน เช่น การเปลี่ยนแปลงวิธีคิดค่าเสื่อมราคาจากวิธีเส้นตรงมาเป็นวิธียอดลดลง สำหรับทรัพย์สินในประเภทเดียวกันหรือเฉพาะที่ซื้อใหม่



                                ตัวอย่างหลักการบัญชีที่สำคัญ
                                -   การตีราคาสินค้าคงเหลือ (FIFO , LIFO และอื่น ๆ)
                                -   การเปลี่ยนแปลงวิธีการบัญชีสำหรับงานก่อสร้างระยะยาว (คิดกำไรเมื่องานเสร็จตาม
สัญญา/คิดกำไรตาม % ของงานเสร็จ)
                                -   รายจ่ายทุน/รายจ่ายค่าใช้จ่าย
                                -   หลักการเปรียบเทียบรายได้กับค่าใช้จ่าย
                                -   หลักราคาทุนเริ่มแรก

10.   การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงรายการทางบัญชีซึ่งมีลักษณะเป็นการประมาณการ เช่น
การประมาณอายุการใช้งานของทรัพย์สินถาวรและหนี้สงสัยจะสูญ
ตัวอย่างการประมาณการทางบัญชี
-   การคิดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
-   การคิดค่าเสื่อมราคา
-   การล้าสมัยของสินค้าคงเหลือ / เสื่อมชำรุด
-   การประกันสุขภาพ
-   งวดเวลาที่พึงได้ประโยชน์จากรายจ่ายรอตัดบัญชี

11.   การยืนยันยอดลูกหนี้
การขอยืนยันยอดลูกหนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานจากภายนอกเพื่อพิสูจน์ว่า
ยอดลูกหนี้ที่ปรากฏตามบัญชีถูกต้องและเป็นจริง
วิธีการยืนยันยอดลูกหนี้มี 2 วิธี  ดังนี้
วิธีที่แจ้งยอดคงเหลือของหนี้ให้ทราบในหนังสือที่ส่งให้ลูกหนี้   วิธีนี้เหมาะสำหรับ
กรณีที่ลูกค้าสามารถปิดบัญชีและให้รายละเอียดลูกหนี้แก่ผู้สอบบัญชีเพื่อใช้ประกอบการขอยืนยันยอดได้ตามวันเวลาที่ผู้สอบบัญชีกำหนดไว้โดยไม่ล่าช้า จำแนกเป็น 2 แบบ คือ
1.1      แบบตอบรับทุกกรณี  (Positive form of request) แบบนี้จะขอให้ลูกหนี้ตอบยืนยัน
ทุกกรณีว่า ยอดหนี้ที่แจ้งไปถูกต้องหรือมีข้อทักท้วง วิธีนี้เหมาะสำหรับใช้ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีต้องการความเชื่อมั่น และยอดหนี้แต่ละรายค่อนข้างสูง
1.2      แบบตอบเมื่อทักท้วง (Negative form of request)  แบบนี้จะขอให้ลูกหนี้ตอบ
เฉพาะกรณีที่มีข้อทักท้วง ใช้ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าการควบคุมภายในด้านลูกหนี้ของลูกค้ามีประสิทธิภาพเพียงพอและลูกหนี้แต่ละรายมียอดค้างชำระไม่สูงนัก
วิธีที่ สอบถามโดยไม่ระบุยอดคงเหลอในหนังสือที่ส่งให้ลูกหนี้  ตามวิธีนี้ใน
หนังสือที่ส่งให้ลูกหนี้จะไม่ระบุยอดหนี้ที่ค้าง เหมาะสำหรับใช้ในกรณีที่ลูกค้าไม่อาจปิดบัญชีหรือได้รายละเอียดลูกหนี้แก่ผู้สอบบัญชีได้ตามวันเวลาที่ผู้สอบบัญชีต้องการยืนยันยอด

12.   ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญหมายถึงอะไร

ในการปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชีเพื่อให้สามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินได้นั้น ผู้สอบ

บัญชีอาจทดสอบรายการบัญชีเพียงบางส่วนแล้ววินิจฉัยจากผลการทดสอบว่าจะสามารถให้ความเชื่อถือข้อมูลทางบัญชีทั้งหมดได้มากน้อยเพียงใด  ดังนั้น การสอบบัญชีจึงมิใช่การให้หลักประกันว่างบการเงิน  จะต้องมีความถูกต้องสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ผู้สอบบัญชีที่ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปย่อมจะสามารถตรวจสอบพบข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดที่มีนัยสำคัญของบัญชีและงบการเงิน        ที่ตรวจสอบได้  ซึ่งจะทำให้สิ่งบกพร่องหลงเหลืออยู่เป็นเพียงส่วนที่ไม่มีสาระสำคัญเท่านั้น และสามารถกล่าวได้ว่างบการเงินนั้นมีความถูกต้องตามที่ควร

13.   หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป หมายถึงอะไร

หมายถึง วิธีการบัญชีซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยกฎหมายบัญชีหรือโดยผู้ประกอบการวิชาชีพบัญชี

และสอบบัญชีส่วนใหญ่ ซึ่งมักมีที่มาจากกฎเกณฑ์หรือประเพณีที่นักบัญชีถือปฏิบัติติดต่อกันมา ในบางกรณีวิธีการบัญชีที่ยอมรับทั่วไปอาจมีทางเลือกปฏิบัติหลายวิธี ในทางตรงกันข้ามก็มีหลายกรณีที่วิธีการบัญชีที่ยอมรับทั่วไปอาจใช้ได้เฉพาะกรณีเท่านั้น  นอกจากนั้น วิธีการบัญชีที่ยอมรับทั่วไปอาจเปลี่ยนแปลงไปให้เหมาะสมกับกาลเวลาและพัฒนาการทางธุรกิจได้ หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปอาจอยู่ในรูปของแนวทางปฏิบัติกว้าง ๆ หรืออาจเป็นข้อกำหนดวิธีปฏิบัติโดยละเอียดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

                                ตัวอย่างการปฏิบัติที่ขัดแย้งกับหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

(1)     กิจการบันทึกบัญชีขายตามเกณฑ์เงินสด
(2)     กิจการไม่คิดค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินถาวรตามส่วนที่ใช้งาน
(3)     กิจการบันทึกรายการปรับปรุงบัญชีทรัพย์สินที่ถูกไฟไหม้ตั้งเป็นทรัพย์สินรอตัดจ่าย ภายใน 5 ปี
(4)     กิจการบันทึกบัญชีรายจ่ายทุนเป็นค่าใช้จ่าย
(5)     กิจการบันทึกรายการทางบัญชีผิดงวดบัญชีที่เกิดขึ้น

หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปรับรู้และให้ความสำคัญกับการบันทึกรายการอย่างถูกต้องตาม

เนื้อหาความเป็นจริง  ดังนั้น ในการปฏิบัติงานตรวจสอบผู้สอบบัญชีต้องพิจารณาด้วยว่าการบันทึกรายการตามเอกสารหลักฐานแต่เพียงอย่างเดียวนั้น จะทำให้งบการเงินผิดไปจากเนื้อหาความเป็นจริงอย่างมีสาระสำคัญหรือไม่เพียงใด

                                ในการพิจารณาหลักการบัญชีที่เหมาะสมสำหรับใช้กับรายการค้าหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้สอบบัญชีจะต้องมีความรอบรู้ถึงวิธีการบัญชีที่อาจเลือกนำมาปฏิบัติได้  เพื่อสามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมกับกรณีมากที่สุด

14.   เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงินหมายถึงอะไร
1)      เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ในงบการเงินแต่ก่อนวันที่ในรายงานของผู้สอบ
บัญชี  ซึ่งเป็นหลักฐานหรือข้อมูลเพิ่มเติมที่แสดงถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วก่อนหรือ ณ วันที่ในงบการเงิน เหตุการณ์นี้มีผลให้ต้องปรับปรุงงบการเงินดังกล่าว  ทั้งนี้จะต้องทราบหรือสามารถกะประมาณผลกระทบ  ที่มีต่องบการเงินได้อย่างมีเหตุผล เช่น ลูกหนี้ที่มีปัญหาในด้านการเรียกเก็บหนี้มาก่อนและต่อมาทราบว่าเป็นหนี้สูญภายหลังวันที่ในงบการเงิน หรือคดีซึ่งเกิดขึ้นและมีมูลค่าฐานมาก่อนวันที่ในงบการเงิน แล้วรู้ผลภายหลังวันที่ในงบการเงิน  เป็นต้น
2)      เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ในงบการเงินแต่ก่อนวันที่ในรายงานของผู้สอบ
บัญชี  ซึ่งเป็นหลักฐานหรือข้อมูลเพิ่มเติมแสดงถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหลังวันที่ในงบการเงิน  ในกรณีนี้ไม่ต้องปรับปรุงงบการเงิน แต่ต้องเปิดเผยให้ทราบถึงสถานการณ์นั้นในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เช่น ความเสียหายเนื่องจากไฟไหม้หรือน้ำท่วมภายหลังวันที่ในงบการเงิน  เป็นต้น

15.   นโยบายบัญชี  หมายถึง
วิธีการบัญชีที่กิจการเลือกใช้ การเปิดเผยนโยบายบัญชีที่ใช้ถือเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน
กิจการจะเปิดเผยไว้ตอนต้นของหมายเหตุประกอบงบการเงิน
ตัวอย่างนโยบายบัญชีที่ควรเปิดเผย  คือ
-   วิธีการรับรู้รายได้
-   การตีราคาสินค้า
-   การตีราคาเงินลงทุน
-   ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
-   การบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ที่เสื่อมราคาได้และวิธีการคิดค่าเสื่อม
-   ทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน รวมทั้งวิธีการบัญชีหรือการตัดจ่ายที่เกี่ยวข้อง

16.   เงินลงทุนระยะสั้น  หมายถึง
หลักทรัพย์ที่ซื้อจากเงินสดเหลือใช้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาดอกผลจากเงินลงทุนนั้น และ
เป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของตลาด และฝ่ายจัดการจะขายเมื่อต้องการเงินสด

17.   การบัญชีแตกต่างกับการสอบบัญชีอย่างไร
การบัญชี
การสอบบัญชี
1.  เริ่มจากหลักฐาน/เอกสารสู่งบการเงิน
1.  เริ่มจากงบการเงินสู่หลักฐาน/เอกสาร
2.  ยึดหลักการบัญชีซึ่งกิจการใช้ปฏิบัติ
2.  พิจารณาว่าหลักการบัญชีมีความขัดแย้งกับ

     หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่
3.  งบการเงินที่ผู้บริหารจัดทำขึ้นอาจยังไม่เป็นที่
3.  มีความรับผิดชอบต่อบุคคลหลายฝ่าย เช่น
     เชื่อถือหรือเป็นประโยชน์แก่บุคคลภายนอกเต็มที่
     ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ ผู้ลงทุน ส่วนราชการ ลูกค้า ฯลฯ

4.  งบการเงินที่ได้ตรวจสอบและแสดงความเห็น

     แล้วจะได้รับความเชื่อถือจากบุคคลภายนอก

18.   โดยทั่วไปขอบเขตการตรวจสอบ  มี 3 ประการ  คือ
1.       การตรวจสอบการปฏิบัติงาน (Operational Auditing) เป็นการตรวจสอบการ
ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ และประเมินผลเพื่อทราบประสิทธิภาพของงาน และเพื่อปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานที่ยังบกพร่องให้มีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
2.       การตรวจสอบการบริหารงาน (Management Auditing)  เป็นการตรวจสอบเพื่อ
ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ เพื่อทราบประสิทธิภาพและปรับปรุงให้ดีขึ้น
3.       การตรวจสอบด้านการเงิน (Financial Auditing) เป็นการตรวจสอบเพื่อทราบความ
ถูกต้อง และเชื่อถือได้ของข้อมูลทางการเงิน และหาทางแก้ไขข้อบกพร่องของการควบคุมด้านการเงิน

19.  ขอบเขตการตรวจสอบถูกจำกัด มีได้ในกรณีใดบ้าง
                                การจำกัดขอบเขตที่สำคัญมักเกี่ยวกับการขอยืนยันยอดลูกหนี้และการสังเกตการณ์ตรวจนับสินค้า  กรณีเช่นนี้ถ้าผู้สอบบัญชีสามารถตรวจสอบโดยวิธีอื่นได้หลักฐานเป็นที่พอใจก็ไม่มีปัญหา
                                กรณีการขอยืนยันยอดลูกหนี้          -  กิจการไม่อนุญาตให้ผู้สอบบัญชีส่งหนังสือยืนยันยอด
   ลูกหนี้ และลูกหนี้เป็นจำนวนเงินมาก
                                                                                                -  ลูกหนี้ปฏิเสธหนี้ และกิจการยังหาสาเหตุไม่พบและ
                                                                                                    ไม่สนใจจะหา (เพิกเฉย)
                                การสังเกตการณ์ตรวจนับสินค้า กิจการไม่อนุญาตให้เข้าร่วมสังเกตการณ์ตรวจนับสินค้า

20.  งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารกับบัญชีเงินฝากธนาคารของกิจการ
บริษัท    ดอกแก้ว   จำกัด
งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารกรุงเทพฯ  (สาขาไม้งาม )
31 ธันวาคม 25…..



ยอดคงเหลือตามใบแจ้งยอดของธนาคาร 31 ธันวาคม 25…..

xxx
บวก    -  เงินฝากระหว่างทาง
xxx

           -  ค่าดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชี
xxx

           -  ค่าธรรมเนียมธนาคาร (เช่าตู้นิรภัย)
xxx

           -  ลงบัญชีรายรับแต่ไม่ได้นำฝากธนาคาร (ทุจริต)
xxx

           -  เช็คลงวันที่ล่วงหน้าแต่บัญชีลงรับแล้ว
xxx
xxx
หัก      -  เช็คค้างจ่าย
xxx

           -  เช็คคืน
xxx

           -  พนักงานถอนเงินจากธนาคารแล้วไม่ลงบัญชี (ทุจริต)
xxx
xxx
ยอดคงเหลือตามบัญชี

xxx




21.  ข้อผิดพลาด & การทุจริต  หมายถึงอะไร
ข้อผิดพลาด  หมายถึง  การแสดงตัวเลขหรือเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินผิดพลาดหรือ
หลงลืมโดยมิได้ตั้งใจ
                                การทุจริต  หมายถึง  การแสดงตัวเลขหรือเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินผิดพลาดหรือมิได้แสดงหรือเปิดเผยไว้โดยเจตนา  การทุจริตยังหมายรวมถึง การรายงานเท็จซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งบการเงินหลงลืมและยักยอกทรัพย์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น