วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

มาตรฐานการสอบบัญชี

มาตรฐานการสอบบัญชี ที่มีผลใช้บังคับ 1 มกราคม 2555
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 200 วัตถุประสงค์โดยรวมของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและการปฏิบัติงานตรวจสอบฯ
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 210 ข้อตกลงในการรับงานสอบบัญชี
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 220 การควบคุมคุณภาพการตรวจสอบงบการเงิน
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 230 เอกสารหลักฐานของงานตรวจสอบ
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 240 ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับการพิจารณาการทุจริตในการตรวจสอบงบฯ
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 250 การพิจารณากฎหมายและข้อบังคับในการตรวจสอบงบการเงิน
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 260 การสื่อสารกับผู้มีหน้าที่ในการกำกับดูแล
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 265 การสื่อสารข้อบกพร่องของการควบคุมภายในไปยังผู้มีหน้าที่ในการกำกับดูแลฯ
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 300 การวางแผนการตรวจสอบงบการเงิน
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 315 การระบุและประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระฯ
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 320 ความมีสาระสำคัญในการวางแผน และปฏิบัติงานสอบบัญชี
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 330 วิธีปฏิบัติของผู้สอบบัญชีในการตอบสนองต่อความเสี่ยงที่ได้ประเมินไว้
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 402 ข้อพิจารณาในกรณีที่กิจการใช้บริการขององค์กรอื่น
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 450 การประเมินการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่พบระหว่างการตรวจสอบ
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 500 หลักฐานการสอบบัญชี
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 501 หลักฐานการสอบบัญชี – ข้อควรพิจารณาเพิ่มเติมเฉพาะรายการ
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 505 การขอคำยืนยันจากบุคคลภายนอก
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 510 การตรวจสอบยอดยกมาในการสอบบัญชีครั้งแรก
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 520 การวิเคราะห์เปรียบเทียบ
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 530 การเลือกตัวอย่างในการสอบบัญชี
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 540 การตรวจสอบประมาณการทางบัญชีและการเปิ ดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 550 บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 560 เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 570 การดำเนินงานต่อเนื่อง
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 580 หนังสือรับรอง
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 600 ข้อควรพิจารณา-การตรวจสอบงบการเงินของกลุ่มกิจการรวมถึงงานของผู้สอบบัญชีอื่น
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 610 การใช้ผลงานของผู้ตรวจสอบภายใน
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 620 การใช้ผลงานของผู้เชี่ยวชาญของผู้สอบบัญชี
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 700 การแสดงความเห็นและการรายงานต่องบการเงิน
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 705 การแสดงความเห็นแบบที่เปลี่ยนแปลงไปในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 706 วรรคเน้นข้อมูลและเหตุการณ์และวรรคเรื่องอื่นในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 710 รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต่อข้อมูลเปรียบเทียบ
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 720 ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับข้อมูลอื่นในเอกสารที่รวมงบการเงินฯ
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 800 ข้อควรพิจารณา-การตรวจสอบงบการเงินที่จัดทำตามแม่บทเพื่อวัตถุฯ
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 805 การพิจารณาพิเศษ - การตรวจสอบงบการเงินงบใดงบหนึ่งฯ
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 810 การรับงานในการรายงานต่องบการเงินอย่างย่อ
แนวปฏิบัติงานสอบบัญชี รหัส 1000 วิธีการขอคำยืนยันระหว่างธนาคาร ยกเลิกตาม IFAC
แนวปฏิบัติงานสอบบัญชี รหัส 1004 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กำกับดูแลธนาคารและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของธนาคาร ยกเลิกตาม IFAC
แนวปฏิบัติงานสอบบัญชี รหัส 1006 การตรวจสอบงบการเงินของธนาคาร ยกเลิกตาม IFAC
แนวปฏิบัติงานสอบบัญชี รหัส 1010 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในการตรวจสอบงบการเงิน ยกเลิกตาม IFAC
แนวปฏิบัติงานสอบบัญชี รหัส 1012 การตรวจสอบเครื่องมือทางการเงินประเภทตราสารอนุพันธ์ ยกเลิกตาม IFAC
แนวปฏิบัติงานสอบบัญชี รหัส 1013 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ - ผลกระทบต่อการตรวจสอบงบการเงิน ยกเลิกตาม IFAC
แนวปฏิบัติงานสอบบัญชี รหัส 1014 การรายงานของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฯ ยกเลิกตาม IFAC
มาตรฐานงานสอบทาน รหัส 2400 การสอบทานงบการเงิน
มาตรฐานงานสอบทาน รหัส 2410 การสอบทานข้อมูลทางการเงินระหว่างกาล โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของกิจการ
มาตรฐานงานที่ให้ความเชื่อมั่น รหัส 3000 งานให้ความเชื่อมัน่ นอกเหนือจากการตรวจสอบหรือการสอบทานข้อมูลทางการเงินฯ
มาตรฐานงานที่ให้ความเชื่อมั่น รหัส 3400 การตรวจสอบข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับอนาคต
มาตรฐานงานที่ให้ความเชื่อมั่น รหัส 3402 รายงานที่ให้ความเชื่อมั่น ต่อการควบคุมขององค์กรอื่นที่ให้บริการ
มาตรฐานงานบริการเกี่ยวเนื่อง รหัส 4400 การปฏิบัติงานตามวิธีการที่ตกลงร่วมกันที่เกี่ยวกับข้อมูลทางการเงิน
มาตรฐานงานบริการเกี่ยวเนื่อง รหัส 4410 การรวบรวมข้อมูลทางการเงิน
Framework แม่บทสำหรับงานที่ให้ความเชื่อมั่น

สมุดรายวัน

สมุดรายวัน (Journals)

สมุดรายวัน (Journals) เป็นสมุดที่ใช้บันทึกรายการเกี่ยวกับการค้า เช่น ซื้อ ขาย รวมทั้งเงินสด และ เงินเชื่อ (Credit)
สมุดรายวัน (Journals) สามารถแยกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ดังนี้
1. สมุดรายวันเฉพาะ (Special Journals) คือ สมุดรายวันที่มีการบันทึกเกี่ยวกับการซื้อ ขาย ทั้งเงินสด และเงินเชื่อ (Credit) แยกออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1.1 สมุดรายวันซื้อ (Purchase Journals) เป็นสมุดรายวัน ที่บันทึกเกี่ยวกับการซื้อสินค้า และ บริการ แบบเงินเชื่อ (Credit)
1.2 สมุดรายวันขาย (Sales Journals) คือ สมุดรายวันที่มีการจดบันทึกเกี่ยวกับการขายสินค้า และ บริการ แบบเงินเชื่อ (Credit)
1.3 สมุดรายวันเงินสดรับ (Cash Receipts Journals) เป็นสมุดรายวันที่บันทึกเกี่ยวกับ เงินสด และ เช็คเงินสดรับ
1.4 สมุดรายวันเงินสดจ่าย (Cash Disbursements Journals) เป็นสมุดรายวันที่บันทึกเกี่ยวกับ เงินสดจ่าย รวมทั้ง เช็คเงินสดจ่าย
2.สมุดบัญชีแยกประเภทย่อย (Ledgers) เป็นสมุดรายวันประเภทหนึ่ง ที่นำมาใช้คู่กับสมุดรายวัน มีไว้แสดงรายละเอียดความเคลื่อนไหวของบัญชี เพื่อแสดงบัญชีลูกหนี้เจ้าหนี้รายตัว คู่กับการจัดทำสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป ลูกหนี้ และ เจ้าหนี้การค้า

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สาระน่ารู้


กิน "พืชผักผลไม้" ช่วยคลายร้อน (ธรรมลีลา)
โดย : ป้าบัว

เมษายนนี่เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดในประเทศไทยเลยค่ะ ดังนั้นคอลัมน์อาหารเป็นยาประจำเดือนนี้ "ป้าบัว" ขอนำพืชผักผลไม้ ที่ช่วยดับร้อน ผ่อนกระหายมาบอกเล่ากันค่ะ เพราะฤดูกาลนี้บ้านเรามีพืชผักผลไม้มากมาย ที่พาเหรดกันออกมาให้ได้รับประทานคลายร้อนกัน

นอกจากจะช่วยดับกระหายแล้ว ยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ช่วยรักษาและป้องกันโรคได้ด้วย

เพราะตามหลักการแพทย์แผนไทยนั้นเชื่อว่า พืชผักที่ออกตามฤดูกาลมีสรรพคุณป้องกันและรักษาโรคที่เกิดขึ้นตามฤดูได้ เช่น หน้าร้อน มักจะมีอาการวิงเวียน อ่อนเพลีย คอแห้ง กระหายน้ำ ร้อนใน ท้องผูก ดังนั้น พืชผักผลไม้ที่มีรสขมเย็น เปรี้ยว หรือจืด จะช่วยลดความร้อนในร่างกาย แก้กระหาย และช่วยให้เจริญอาหาร ซึ่งตรงกับหลักการแพทย์แผนจีนที่แนะนำให้รับประทานอาหารที่ให้ความเย็นแก่ร่างกาย (แต่ไม่ใช่น้้ำแข็ง หรือไอศกรีมนะคะ)

มาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าพืชผักผลไม้ที่ช่วยแก้กระหาย และหาได้ง่าย ๆ ยามนี้ แถมราคาถูก มีอะไรกันบ้าง

พืชผักดับร้อน

มะระ เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ แก้กระหาย บรรเทาอาการร้อนใน แก้อักเสบ เจ็บคอ

สะระแหน่ เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับลม ขับเหงื่อ รักษาอาการหวัดลมร้อน

ชะอม ช่วยลดความร้อนในร่างกายขับลมในลำไส้

ถั่วเขียว มีฤทธิ์ขับร้อนใน แก้กระหาย ขับปัสสาวะ

ผักกาดขาว ช่วยแก้ร้อนใน ป้องกันมะเร็ง

ปวยเล้ง เป็นยาเย็น ช่วยขับร้อน แก้กระหาย

แตงกวา ขับปัสสาวะ แก้ไข้ กระหายน้ำ ไฟลวก ถ่ายพยาธิ แก้ท้องเสีย

ตำลึง ดับพิษร้อนภายในร่างกาย ลดอาการไข้ เป็นยาระบายอ่อน ๆ

ใบบัวบก บำรุงสมอง บำรุงหัวใจ แก้ร้อนในกระหายน้ำ อ่อนเพลีย ช่วยรักษาอาการฟกช้ำ ช่วยให้เลือดกระจายตัว แก้ช้ำใน ความดันโลหิตสูง ป้องกันมะเร็ง

ฟักเขียว มีฤทธิ์เย็น ช่วยถอนพิษ ขับร้อนในร่างกาย แก้ธาตุพิการ ขจัดเสมหะ ขับปัสสาวะ บำบัดอาการบวมน้ำ ไอ หอบ แก้บิด เบาหวาน และบำบัดโรคที่เกี่ยวกับระบบเลือด

ผักบุ้ง บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงเลือด ลดไข้ แก้เบาหวาน แก้ร้อนใน บำรุงสายตา

หัวไชเท้า ล้างพิษภายใน ดับพิษร้อน บำรุงไต ขับปัสสาวะ ละลายนิ่ว

สายบัว ลดอาการเกร็งขอลำไส้ และกระเพาะอาหาร ลดความเครียดทางสมอง บรรเทาอาการท้องผูก ขับปัสสาวะ ดับพิษ ร้อนในกาย

กระเจี๊ยบ แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด แก้ไอ แก้เสมหะ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ละสายไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร

มะเขือเทศ ช่วยดับกระหาย ทำให้เจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ลำไส้ ไต ให้ทำงานได้ดี ช่วยขับพิษและสิ่งคั่งค้างในร่างกาย และเป็นยาระบายอ่อน ๆ

กระจับ เป็นยาเย็น ช่วยดับร้อน ช่วยย่อยอาหาร แก้อาการปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว และแก้พิษจากการดื่มสุรา

ผลไม้ดับกระหาย

มะม่วง ดับกระหาย ละลายเสมหะ แก้อาการไอ คลื่นไส้อาเจียน ขับปัสสาวะ ช่วยให้เลือดลมของสตรีเป็นปกติ

แตงโม บำรุงร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร รักษาไต บรรเทาอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ลดความดันโลหิต ลดความร้อนในร่างกาย แก้กระหายน้ำ

มะเฟือง ช่วยลดอุณหภูมิความร้อนภายในร่างกาย ปวดศรีษะ บรรเทาอาการไอ และนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

ลูกตาล ช่วยละลายเสมหะในลำคอ บรรเทาอาการไอ แก้กระหายน้ำ ช่วยลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกาย

แตงไทย ดับกระหาย ลดความร้อนในร่างกาย ขับปัสสาวะ และเป็นยาระบายอ่อน ๆ

ระกำ ป้องกันไข้หวัด ช่วยย่อยอาหารทำให้เจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ

ลองกอง ลดอุณหภูมิความร้อนภายในร่างกาย แก้อาการร้อนใน ทำให้ชุ่มคอ

ลางสาด ละลายเสมหะ ทำให้ชุ่มชื่น เป็นยาลดไข้ แก้ท้องเสีย

ชมพู่ บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น เป็นยาลดไข้ แก้ท้องเสีย

กระท้อน ชุ่มคอแก้กระหายน้ำ และลดอาการเจ็บคอ

ส้มโอ ช่วยในการขับถ่ายและขับสารพิษแก้อาการท้องอืด ช่วยระบายความร้อนในร่างกาย ผ่อนพิษไข้

ลิ้นจี่ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงอวัยวะภายในและระบบปราสาท แก้กระหายน้ำ

สับปะรด แก้กระหาย ช่วยย่อยอาหารลดความร้อนในร่างกาย ลดความเสี่ยงการเป็นโรคไต และความดันโลหิตสูง แก้อาการบวมน้ำของร่างกาย ขับปัสสาวะ

แห้ว ช่วยบำรุงร่างกาย แก้กระหายน้ำ ต่อต้านแบคทีเรียได้ดี ช่วยย่อยอาหาร ลดอาการท้องผูก แก้อาการพิษเนื่องจากดื่มสุรา

อ้อย ช่วยบำรุงร่างกาย ลดอุณหภูมิความร้อนภายในร่างกาย บรรเทาอาการกระหายน้ำ ช่วยย่อยอาหาร แก้คลื่นไส้ อาเจียน

มังคุด ช่วยลดความร้อนภายใน แก้กระหายน้ำ ช่วยเพิ่มเมือกภายในลำไส้และกระเพาะทำให้ถ่ายคล่อง

กล้วย แก้ความดันโลหิตสูง ลดภาวะความเป็นพิษของร่างกาย ช่วยให้ปอดชุ่มชื่นและแก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี

เลือกซื้อเลือกหามารับประทานกันตามชอบใจนะคะ จะทานสด ๆ หรือปรุงเป็นอาหาร หรือคั้นน้ำดื่ม ก็แล้วแต่สะดวกค่ะ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจสอบ บัญชี

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสอบบัญชี


1.       การสอบบัญชีคืออะไร

การสอบบัญชี คือ การตรวจสอบสมุดบัญชี เอกสารประกอบการลงบัญชี และหลักฐานอื่นๆ

โดยผู้ประกอบวิชาชีพสอบบัญชี ตามแนวทางปฏิบัติงานที่วิชาชีพได้กำหนดเป็นมาตรฐานไว้เพื่อที่ให้ผู้สอบบัญชีจะสามารถวินิจฉัย และแสดงความเห็นได้ว่างบการเงินที่กิจการจัดทำขึ้นขัดกับข้อเท็จจริง อันเป็นสาระสำคัญและเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปเพียงใด หรือไม่

2.       วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบบัญชี มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ  คือ
  การตรวจสอบการปฏิบัติตามระบบ (Compliance Test)
      เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้ประเมินได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่า    การควบคุมภายในที่
องค์กรกำหนดขึ้นนั้น ได้มีการปฏิบัติตามระบบบัญชีและการควบคุมภายในอย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ  ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นให้ระบบการควบคุมภายในยิ่งขึ้น
                                       วิธีการทดสอบการปฏิบัติตามระบบ  จัดทำได้โดย
                                       2.1  การทดสอบรายการบัญชี  เป็นการตรวจดูเอกสารหลักฐานต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าการควบคุมภายในที่กำหนดไว้ ได้มีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง กล่าวคือ มีการอนุมัติรายการโดยผู้มีอำนาจก่อนการบันทึกบัญชี
                                      2.2  การปฏิบัติงานซ้ำ  เป็นการทดสอบว่า การปฏิบัติงานเป็นไปตามระบบและวิธีการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้  โดยการปฏิบัติงานซ้ำตามวิธีที่พนักงานปฏิบัติ อาจจะเป็นบางขั้นตอน หรือทั้งหมด เช่น การทดสอบระบบการรับเงินฝาก เป็นต้น
                                      2.3  การสอบถามและการสังเกตการณ์  เป็นการสังเกตดูการปฏิบัติงานจริง ขณะที่พนักงานปฏิบัติงานอยู่ เพื่อดูว่ามีการละเมิดหรือละเว้นการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในที่วางไว้หรือไม่ เช่น การสังเกตดูว่ามีพนักงานคนใดได้ปฏิบัติงานที่ตนไม่ได้รับมอบหมาย หรือไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นหรือไม่

                กรณีที่ผู้ประเมินพบว่า  การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามระบบการควบคุมภายใน

ผู้ประเมินควรหาสาเหตุว่าเกิดขึ้นเนื่องจากอะไร และมีความถี่มากน้อยเพียงใด  ตลอดจนโอกาสจะเกิดความผิดพลาด บกพร่อง หรือการทุจริต อันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร ถ้าผู้ประเมินได้รับการ      ชี้แจงแล้วแต่ยังไม่มีความมั่นใจว่าจะเหมาะสมหรือเพียงพอ  ผู้ประเมินอาจไม่มีความเชื่อถือในระบบการควบคุมภายใน  และต้องทำการทดสอบความถูกต้องของรายการบัญชีและยอดคงเหลือโดยการทดสอบในสาระสำคัญ (Substantive test)

  การตรวจสอบรายการบัญชีและยอดคงเหลือโดยการทดสอบในสาระสำคัญ
(Substantive Test)
                                     หมายถึง การตรวจสอบหลักฐานประกอบรายการที่ปรากฏในงบการเงิน ซึ่งจะกระทำภายหลังการตรวจสอบระบบข้อมูล เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินได้
                                      เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลักในการตรวจสอบ
2.1  ความมีอยู่จริงหรือเกิดขึ้นจริง
 ผู้สอบบัญชี จะทดสอบรายการที่ปรากฏอยู่ในงบการเงิน ไม่ว่าจะสินทรัพย์ หนี้สิน
ทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย ว่าจะต้องเป็นรายการที่มีอยู่จริงหรือเกิดขึ้นจริงในกิจการที่รับตรวจสอบ
2.2  ความถูกต้องและครบถ้วนของรายการ
โดยทั่วไปรายการประเภทสินทรัพย์   และรายได้มักจะมีแนวโน้มที่จะแสดงไว้สูงกว่า
ที่มีอยู่จริง ในขณะที่รายการประเภทหนี้สิน และค่าใช้จ่ายมักจะมีแนวโน้มที่จะแสดงไว้ต่ำกว่าที่มีอยู่จริง   ดังนั้น ผู้สอบบัญชีจึงต้องพิสูจน์ว่ารายการเหล่านี้ได้ถูกบันทึกไว้อย่างถูกต้องและครบถ้วน (ไม่สูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริงในส่วนที่มีสาระสำคัญ
2.3  กรรมสิทธิ์และภาระหนี้สิน

รายการที่จะบันทึกเป็นสินทรัพย์ของกิจการ     จะต้องเป็นสิ่งที่กิจการมีกรรมสิทธิ์

และรายการที่จะบันทึกเป็นหนี้สินได้จะต้องเป็นสิ่งที่กิจการมีภาระในการจ่ายชำระ ผู้สอบบัญชีจึงต้องหาหลักฐานเพื่อดูว่า สินทรัพย์และหนี้สินที่บันทึกในงบการเงินมีกรรมสิทธิ์และภาระหนี้สินจริง
2.4  การตีราคาหรือการกระจายราคา

รายการที่แสดงในงบการเงิน จะต้องเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป  เช่น

รายการที่เกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศจะต้องมีการแปลงค่าเป็นเงินบาทตามอัตราที่หลักการบัญชีได้ระบุไว้ การตีราคาสินค้าคงเหลือต้องตีตามราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่ได้รับ เป็นต้น  ดังนั้น ผู้สอบบัญชีจะต้องตรวจสอบว่ารายการเหล่านี้มีการแสดงมูลค่าถูกต้อง
      2.5  การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน
นอกจากรายการที่ปรากฏอยู่ในงบการเงินแล้ว  ผู้สอบบัญชีจะต้องคำนึงถึง
รายละเอียดที่ปรากฏอยู่ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เช่น เรื่องการนำสินทรัพย์ไปค้ำประกันเงินกู้ยืม    ผู้สอบบัญชีต้องพิจารณาว่าได้มีการเปิดเผยข้อมูลไว้หรือไม่ การมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (สหกรณ์ถูกฟ้องร้องและอยู่ระหว่างการดำเนินคดี) เป็นต้น  เพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน



3.       ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
ผู้สอบบัญชีเพียงแต่แสดงความเห็นต่องบการเงินเท่านั้น      มิใช่ว่ารับประกันความถูกต้อง
ของบรรดางบการเงินต่าง ๆ  ในการปฏิบัติการตรวจสอบ  หากผู้สอบบัญชีตรวจสอบตามมาตรฐานการ สอบบัญชีที่รับรองทั่วไปแล้ว ผู้สอบบัญชีย่อมต้องตรวจสอบพบข้อบกพร่องอันพึงปรากฏ (ถ้ามี) จากการตรวจสอบตามมาตรฐานฯ นอกเหนือจากนี้แล้วผู้สอบบัญชีไม่ต้องรับผิดชอบ รวมทั้งความรับผิดชอบเกี่ยวกับการค้นหาทุจริต (แต่ผู้สอบบัญชีอาจต้องขยายเวลาการตรวจสอบหรือหาหลักฐานเพิ่มขึ้นเพื่อความเพียงพอต่อการแสดงความเห็นเว้นแต่ ผู้สอบบัญชีจะปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง  นอกเหนือจากหน้าที่ที่จะต้องตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานแล้ว     ผู้สอบบัญชียังจะต้องรักษาความลับของลูกค้าที่ได้มาจากการตรวจสอบด้วย

4.       หลักฐานในการสอบบัญชี
หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ผู้สอบบัญชีต้องรวบรวมขึ้น เพื่อให้สามารถแสดงความเห็นว่า
งบการเงินของกิจการที่ตรวจสอบนั้นไม่ขัดกับข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญและเชื่อถือได้เพียงใด
                                คุณลักษณะของหลักฐาน
1)      ความเพียงพอของหลักฐาน จะพิจารณาจากปริมาณของหลักฐาน
2)      ความเชื่อถือได้ของหลักฐาน จะพิจารณาจากคุณภาพของหลักฐาน
ปัจจัยที่กระทบความเชื่อถือได้ของหลักฐาน
1.       แหล่งที่มาของหลักฐาน
-          หลักฐานที่มาจากภายนอก (บุคคลที่สาม) เชื่อถือได้มากกว่าหลักฐานที่มาจากภายในกิจการเอง
-          หลักฐานที่ผู้สอบบัญชีรู้เห็นด้วยตนเอง หรือทดสอบด้วยตนเอง เชื่อถือได้มากกว่า
2.       ประสิทธิภาพการควบคุมภายใน
กิจการที่มีระบบการควบคุมภายในดี หลักฐานจะมีเชื่อถือได้มากกว่า
3.       วิธีการที่ใช้และเวลาในการได้หลักฐาน
หลักฐานที่ได้รับมาโดยตรง ในเวลาที่เหมาะสมจะเชื่อถือได้มากกว่า เช่น การตรวจนับ
สินค้าคงเหลือ ณ วันปิดบัญชี จะทำให้สามารถเชื่อถือปริมาณของสินค้าที่มีอยู่ ณ วันสิ้นปีมากกว่าใช้วิธีการตรวจสอบอื่นหรือในเวลาอื่น
4.       ความเหมาะสมของผู้ที่ให้ข้อมูล
หลักฐานที่มาจากการสอบถามและขอคำรับรองจะต้องพิจารณาความเหมาะสมของ
ผู้ที่ให้ข้อมูล ถ้าเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำการตรวจสอบโดยตรง จะได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากกว่า

5.       ประสบการณ์จากการตรวจสอบครั้งก่อน
จะช่วยประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้มากกว่าการที่ไม่เคยตรวจสอบกิจการนั้น
6.       หลักฐานที่เป็นความจริงหรือความเห็น
หลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีอยู่จริง เชื่อถือได้มากกว่าหลักฐานประเภทความเห็น
7.       ความเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้ข้อมูลผิดพลาด
กิจการที่ผู้สอบบัญชีประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงสูง จะทำให้ความน่าเชื่อถือของ
หลักฐานลดลง

5.       ความเสี่ยงในการสอบบัญชี (Audit Risk)  แบ่งเป็น
1.       ความเสี่ยงสืบเนื่อง   (Inherent Risk :  IR )  เป็นความเสี่ยงที่มักจะมีอยู่โดยธรรมชาติ
จากการที่กิจการดำเนินธุรกิจนั้น ๆ เช่น กิจการทำธุรกิจให้กู้ยืมเงิน อาจมีความเสี่ยงจากการเก็บหนี้ไม่ได้ตามกำหนด เป็นต้น
2.       ความเสี่ยงเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายในของลูกค้า (Control Risk : CR ) ซึ่งไม่อาจ
ป้องกัน  หรือแก้ไขข้อผิดพลาด (Control risk) ได้
3.       ความเสี่ยงเกี่ยวกับการตรวจสอบที่ไม่พบความผิดพลาดที่มีสาระสำคัญ (Detection
risk) เช่น ผู้สอบบัญชีใช้วิธีการตรวจสอบที่ไม่มีประสิทธิภาพ เลือกตัวอย่างไม่ถูกต้อง
                                Inherent risk and Control risk เป็นความเสี่ยงซึ่งเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจของกิจการนั้น ๆ  ซึ่งสภาพแวดล้อม ลักษณะ หรือประเภทของบัญชี จะเป็นตัวกำหนด โดยไม่เกี่ยวข้องกับวิธีการตรวจสอบ
                                แม้ว่าผู้สอบบัญชีจะไม่สามารถควบคุม Inherent risk and Control risk ได้  แต่ผู้สอบบัญชีสามารถประเมินความเสี่ยงดังกล่าว  เพื่อกำหนดขอบเขตในการตรวจสอบที่มีสาระสำคัญ ซึ่งทำให้ Detection risk อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้  ซึ่งจะทำให้ความเสี่ยงของการสอบบัญชีอยู่ในระดับต่ำ

6.       แนวการสอบบัญชี (Audit Program)  คืออะไร
ในการสอบบัญชี ผู้สอบจะต้องจัดเตรียมแนวการสอบบัญชีสำหรับการตรวจสอบในแต่ละ
รายการในงบการเงินเพื่อ
1.       ใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนการตรวจสอบที่กำหนดแนวทางไว้ล่วงหน้าอย่างชัดเจน 
โดยการนำเอาเทคนิคต่าง ๆ มาใช้เป็นวิธีการตรวจสอบเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้
2.       ใช้เป็นเครื่องมือในการมอบหมายงานและติดตามงาน หรือการควบคุมการปฏิบัติงาน
ของผู้ช่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.       ใช้เป็นหลักฐานแสดงการปฏิบัติงานตรวจสอบ ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระดาษทำการ
ของผู้สอบบัญชี
                                แนวการสอบบัญชี ควรจัดทำไว้ล่วงหน้าเพื่อการปฏิบัติงาน และปรับปรุงได้ตาม     ความเหมาะสมในระหว่างปี  ซึ่งแนวการสอบบัญชีนั้นควรจะต้องสัมพันธ์กับการประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายใน (ดูได้จากแบบจัดชั้นคุณภาพสหกรณ์)

7.       การแสดงความเห็นต่องบการเงิน  มี 4 แบบ  คือ
1.       แบบไม่มีเงื่อนไข (UNQUALIFIED OPINION)
2.       แบบมีเงื่อนไข (QUALIFIED OPINION)
3.       แบบไม่แสดงความเห็น (DISCLAIMER OPINION)
4.       แบบงบการเงินไม่ถูกต้อง (ADVERSE OPINION)

8.       มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป และการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี
หมายถึงอะไร
                        มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป หมายถึง หลักการพื้นฐานและวิธีการตรวจสอบ     ที่สำคัญ รวมทั้งแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่อยู่ในรูปของคำชี้แจง หรือรูปลักษณะอื่น ตามปกติจะกำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย และสอดคล้องกับมาตรฐานการสอบบัญชีระหว่างประเทศ (ISAS)
                        ถ้าสมาคมฯ ยังมิได้กำหนดหลักการบัญชีในเรื่องใด อาจศึกษาเพิ่มเติมจากตำราประกาศหรือระเบียบปฏิบัติขององค์กรอื่น ๆ  เช่น ก.บชตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  วิธีการตรวจสอบนั้น    ผู้สอบบัญชีต้องพิจารณาถึงมาตรฐานการสอบบัญชีด้วย เพราะมาตรฐานเป็นเครื่องวัดว่าควรใช้วิธีการตรวจสอบอย่างใด และเพียงใด  จึงจะให้ผลงานเป็นที่รับรองกันโดยทั่วไป
                        การตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี หมายถึง การใช้วิธีการตรวจสอบต่าง ๆ ที่  ผู้สอบบัญชีในประเทศไทยถือใช้ โดยปกติแล้ววิธีการตรวจสอบดังกล่าวย่อมพัฒนาไปตามประเพณี การค้าและความต้องการของวงการธุรกิจในประเทศไทย และต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายไทยด้วย   นอกจากนี้ ผู้สอบบัญชีต้องมีประสบการณ์หรือมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่ตนตรวจสอบด้วย

9.       การเปลี่ยนแปลงหลักการบัญชี

หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลักการบัญชีหรือวิธีการบัญชีที่กิจการใช้อยู่ในปีปัจจุบัน 

ซึ่งแตกต่างไปจากที่ใช้ในปีก่อน เช่น การเปลี่ยนแปลงวิธีคิดค่าเสื่อมราคาจากวิธีเส้นตรงมาเป็นวิธียอดลดลง สำหรับทรัพย์สินในประเภทเดียวกันหรือเฉพาะที่ซื้อใหม่



                                ตัวอย่างหลักการบัญชีที่สำคัญ
                                -   การตีราคาสินค้าคงเหลือ (FIFO , LIFO และอื่น ๆ)
                                -   การเปลี่ยนแปลงวิธีการบัญชีสำหรับงานก่อสร้างระยะยาว (คิดกำไรเมื่องานเสร็จตาม
สัญญา/คิดกำไรตาม % ของงานเสร็จ)
                                -   รายจ่ายทุน/รายจ่ายค่าใช้จ่าย
                                -   หลักการเปรียบเทียบรายได้กับค่าใช้จ่าย
                                -   หลักราคาทุนเริ่มแรก

10.   การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงรายการทางบัญชีซึ่งมีลักษณะเป็นการประมาณการ เช่น
การประมาณอายุการใช้งานของทรัพย์สินถาวรและหนี้สงสัยจะสูญ
ตัวอย่างการประมาณการทางบัญชี
-   การคิดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
-   การคิดค่าเสื่อมราคา
-   การล้าสมัยของสินค้าคงเหลือ / เสื่อมชำรุด
-   การประกันสุขภาพ
-   งวดเวลาที่พึงได้ประโยชน์จากรายจ่ายรอตัดบัญชี

11.   การยืนยันยอดลูกหนี้
การขอยืนยันยอดลูกหนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานจากภายนอกเพื่อพิสูจน์ว่า
ยอดลูกหนี้ที่ปรากฏตามบัญชีถูกต้องและเป็นจริง
วิธีการยืนยันยอดลูกหนี้มี 2 วิธี  ดังนี้
วิธีที่แจ้งยอดคงเหลือของหนี้ให้ทราบในหนังสือที่ส่งให้ลูกหนี้   วิธีนี้เหมาะสำหรับ
กรณีที่ลูกค้าสามารถปิดบัญชีและให้รายละเอียดลูกหนี้แก่ผู้สอบบัญชีเพื่อใช้ประกอบการขอยืนยันยอดได้ตามวันเวลาที่ผู้สอบบัญชีกำหนดไว้โดยไม่ล่าช้า จำแนกเป็น 2 แบบ คือ
1.1      แบบตอบรับทุกกรณี  (Positive form of request) แบบนี้จะขอให้ลูกหนี้ตอบยืนยัน
ทุกกรณีว่า ยอดหนี้ที่แจ้งไปถูกต้องหรือมีข้อทักท้วง วิธีนี้เหมาะสำหรับใช้ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีต้องการความเชื่อมั่น และยอดหนี้แต่ละรายค่อนข้างสูง
1.2      แบบตอบเมื่อทักท้วง (Negative form of request)  แบบนี้จะขอให้ลูกหนี้ตอบ
เฉพาะกรณีที่มีข้อทักท้วง ใช้ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าการควบคุมภายในด้านลูกหนี้ของลูกค้ามีประสิทธิภาพเพียงพอและลูกหนี้แต่ละรายมียอดค้างชำระไม่สูงนัก
วิธีที่ สอบถามโดยไม่ระบุยอดคงเหลอในหนังสือที่ส่งให้ลูกหนี้  ตามวิธีนี้ใน
หนังสือที่ส่งให้ลูกหนี้จะไม่ระบุยอดหนี้ที่ค้าง เหมาะสำหรับใช้ในกรณีที่ลูกค้าไม่อาจปิดบัญชีหรือได้รายละเอียดลูกหนี้แก่ผู้สอบบัญชีได้ตามวันเวลาที่ผู้สอบบัญชีต้องการยืนยันยอด

12.   ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญหมายถึงอะไร

ในการปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชีเพื่อให้สามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินได้นั้น ผู้สอบ

บัญชีอาจทดสอบรายการบัญชีเพียงบางส่วนแล้ววินิจฉัยจากผลการทดสอบว่าจะสามารถให้ความเชื่อถือข้อมูลทางบัญชีทั้งหมดได้มากน้อยเพียงใด  ดังนั้น การสอบบัญชีจึงมิใช่การให้หลักประกันว่างบการเงิน  จะต้องมีความถูกต้องสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ผู้สอบบัญชีที่ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปย่อมจะสามารถตรวจสอบพบข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดที่มีนัยสำคัญของบัญชีและงบการเงิน        ที่ตรวจสอบได้  ซึ่งจะทำให้สิ่งบกพร่องหลงเหลืออยู่เป็นเพียงส่วนที่ไม่มีสาระสำคัญเท่านั้น และสามารถกล่าวได้ว่างบการเงินนั้นมีความถูกต้องตามที่ควร

13.   หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป หมายถึงอะไร

หมายถึง วิธีการบัญชีซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยกฎหมายบัญชีหรือโดยผู้ประกอบการวิชาชีพบัญชี

และสอบบัญชีส่วนใหญ่ ซึ่งมักมีที่มาจากกฎเกณฑ์หรือประเพณีที่นักบัญชีถือปฏิบัติติดต่อกันมา ในบางกรณีวิธีการบัญชีที่ยอมรับทั่วไปอาจมีทางเลือกปฏิบัติหลายวิธี ในทางตรงกันข้ามก็มีหลายกรณีที่วิธีการบัญชีที่ยอมรับทั่วไปอาจใช้ได้เฉพาะกรณีเท่านั้น  นอกจากนั้น วิธีการบัญชีที่ยอมรับทั่วไปอาจเปลี่ยนแปลงไปให้เหมาะสมกับกาลเวลาและพัฒนาการทางธุรกิจได้ หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปอาจอยู่ในรูปของแนวทางปฏิบัติกว้าง ๆ หรืออาจเป็นข้อกำหนดวิธีปฏิบัติโดยละเอียดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

                                ตัวอย่างการปฏิบัติที่ขัดแย้งกับหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

(1)     กิจการบันทึกบัญชีขายตามเกณฑ์เงินสด
(2)     กิจการไม่คิดค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินถาวรตามส่วนที่ใช้งาน
(3)     กิจการบันทึกรายการปรับปรุงบัญชีทรัพย์สินที่ถูกไฟไหม้ตั้งเป็นทรัพย์สินรอตัดจ่าย ภายใน 5 ปี
(4)     กิจการบันทึกบัญชีรายจ่ายทุนเป็นค่าใช้จ่าย
(5)     กิจการบันทึกรายการทางบัญชีผิดงวดบัญชีที่เกิดขึ้น

หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปรับรู้และให้ความสำคัญกับการบันทึกรายการอย่างถูกต้องตาม

เนื้อหาความเป็นจริง  ดังนั้น ในการปฏิบัติงานตรวจสอบผู้สอบบัญชีต้องพิจารณาด้วยว่าการบันทึกรายการตามเอกสารหลักฐานแต่เพียงอย่างเดียวนั้น จะทำให้งบการเงินผิดไปจากเนื้อหาความเป็นจริงอย่างมีสาระสำคัญหรือไม่เพียงใด

                                ในการพิจารณาหลักการบัญชีที่เหมาะสมสำหรับใช้กับรายการค้าหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้สอบบัญชีจะต้องมีความรอบรู้ถึงวิธีการบัญชีที่อาจเลือกนำมาปฏิบัติได้  เพื่อสามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมกับกรณีมากที่สุด

14.   เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงินหมายถึงอะไร
1)      เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ในงบการเงินแต่ก่อนวันที่ในรายงานของผู้สอบ
บัญชี  ซึ่งเป็นหลักฐานหรือข้อมูลเพิ่มเติมที่แสดงถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วก่อนหรือ ณ วันที่ในงบการเงิน เหตุการณ์นี้มีผลให้ต้องปรับปรุงงบการเงินดังกล่าว  ทั้งนี้จะต้องทราบหรือสามารถกะประมาณผลกระทบ  ที่มีต่องบการเงินได้อย่างมีเหตุผล เช่น ลูกหนี้ที่มีปัญหาในด้านการเรียกเก็บหนี้มาก่อนและต่อมาทราบว่าเป็นหนี้สูญภายหลังวันที่ในงบการเงิน หรือคดีซึ่งเกิดขึ้นและมีมูลค่าฐานมาก่อนวันที่ในงบการเงิน แล้วรู้ผลภายหลังวันที่ในงบการเงิน  เป็นต้น
2)      เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ในงบการเงินแต่ก่อนวันที่ในรายงานของผู้สอบ
บัญชี  ซึ่งเป็นหลักฐานหรือข้อมูลเพิ่มเติมแสดงถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหลังวันที่ในงบการเงิน  ในกรณีนี้ไม่ต้องปรับปรุงงบการเงิน แต่ต้องเปิดเผยให้ทราบถึงสถานการณ์นั้นในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เช่น ความเสียหายเนื่องจากไฟไหม้หรือน้ำท่วมภายหลังวันที่ในงบการเงิน  เป็นต้น

15.   นโยบายบัญชี  หมายถึง
วิธีการบัญชีที่กิจการเลือกใช้ การเปิดเผยนโยบายบัญชีที่ใช้ถือเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน
กิจการจะเปิดเผยไว้ตอนต้นของหมายเหตุประกอบงบการเงิน
ตัวอย่างนโยบายบัญชีที่ควรเปิดเผย  คือ
-   วิธีการรับรู้รายได้
-   การตีราคาสินค้า
-   การตีราคาเงินลงทุน
-   ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
-   การบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ที่เสื่อมราคาได้และวิธีการคิดค่าเสื่อม
-   ทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน รวมทั้งวิธีการบัญชีหรือการตัดจ่ายที่เกี่ยวข้อง

16.   เงินลงทุนระยะสั้น  หมายถึง
หลักทรัพย์ที่ซื้อจากเงินสดเหลือใช้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาดอกผลจากเงินลงทุนนั้น และ
เป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของตลาด และฝ่ายจัดการจะขายเมื่อต้องการเงินสด

17.   การบัญชีแตกต่างกับการสอบบัญชีอย่างไร
การบัญชี
การสอบบัญชี
1.  เริ่มจากหลักฐาน/เอกสารสู่งบการเงิน
1.  เริ่มจากงบการเงินสู่หลักฐาน/เอกสาร
2.  ยึดหลักการบัญชีซึ่งกิจการใช้ปฏิบัติ
2.  พิจารณาว่าหลักการบัญชีมีความขัดแย้งกับ

     หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่
3.  งบการเงินที่ผู้บริหารจัดทำขึ้นอาจยังไม่เป็นที่
3.  มีความรับผิดชอบต่อบุคคลหลายฝ่าย เช่น
     เชื่อถือหรือเป็นประโยชน์แก่บุคคลภายนอกเต็มที่
     ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ ผู้ลงทุน ส่วนราชการ ลูกค้า ฯลฯ

4.  งบการเงินที่ได้ตรวจสอบและแสดงความเห็น

     แล้วจะได้รับความเชื่อถือจากบุคคลภายนอก

18.   โดยทั่วไปขอบเขตการตรวจสอบ  มี 3 ประการ  คือ
1.       การตรวจสอบการปฏิบัติงาน (Operational Auditing) เป็นการตรวจสอบการ
ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ และประเมินผลเพื่อทราบประสิทธิภาพของงาน และเพื่อปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานที่ยังบกพร่องให้มีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
2.       การตรวจสอบการบริหารงาน (Management Auditing)  เป็นการตรวจสอบเพื่อ
ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ เพื่อทราบประสิทธิภาพและปรับปรุงให้ดีขึ้น
3.       การตรวจสอบด้านการเงิน (Financial Auditing) เป็นการตรวจสอบเพื่อทราบความ
ถูกต้อง และเชื่อถือได้ของข้อมูลทางการเงิน และหาทางแก้ไขข้อบกพร่องของการควบคุมด้านการเงิน

19.  ขอบเขตการตรวจสอบถูกจำกัด มีได้ในกรณีใดบ้าง
                                การจำกัดขอบเขตที่สำคัญมักเกี่ยวกับการขอยืนยันยอดลูกหนี้และการสังเกตการณ์ตรวจนับสินค้า  กรณีเช่นนี้ถ้าผู้สอบบัญชีสามารถตรวจสอบโดยวิธีอื่นได้หลักฐานเป็นที่พอใจก็ไม่มีปัญหา
                                กรณีการขอยืนยันยอดลูกหนี้          -  กิจการไม่อนุญาตให้ผู้สอบบัญชีส่งหนังสือยืนยันยอด
   ลูกหนี้ และลูกหนี้เป็นจำนวนเงินมาก
                                                                                                -  ลูกหนี้ปฏิเสธหนี้ และกิจการยังหาสาเหตุไม่พบและ
                                                                                                    ไม่สนใจจะหา (เพิกเฉย)
                                การสังเกตการณ์ตรวจนับสินค้า กิจการไม่อนุญาตให้เข้าร่วมสังเกตการณ์ตรวจนับสินค้า

20.  งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารกับบัญชีเงินฝากธนาคารของกิจการ
บริษัท    ดอกแก้ว   จำกัด
งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารกรุงเทพฯ  (สาขาไม้งาม )
31 ธันวาคม 25…..



ยอดคงเหลือตามใบแจ้งยอดของธนาคาร 31 ธันวาคม 25…..

xxx
บวก    -  เงินฝากระหว่างทาง
xxx

           -  ค่าดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชี
xxx

           -  ค่าธรรมเนียมธนาคาร (เช่าตู้นิรภัย)
xxx

           -  ลงบัญชีรายรับแต่ไม่ได้นำฝากธนาคาร (ทุจริต)
xxx

           -  เช็คลงวันที่ล่วงหน้าแต่บัญชีลงรับแล้ว
xxx
xxx
หัก      -  เช็คค้างจ่าย
xxx

           -  เช็คคืน
xxx

           -  พนักงานถอนเงินจากธนาคารแล้วไม่ลงบัญชี (ทุจริต)
xxx
xxx
ยอดคงเหลือตามบัญชี

xxx




21.  ข้อผิดพลาด & การทุจริต  หมายถึงอะไร
ข้อผิดพลาด  หมายถึง  การแสดงตัวเลขหรือเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินผิดพลาดหรือ
หลงลืมโดยมิได้ตั้งใจ
                                การทุจริต  หมายถึง  การแสดงตัวเลขหรือเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินผิดพลาดหรือมิได้แสดงหรือเปิดเผยไว้โดยเจตนา  การทุจริตยังหมายรวมถึง การรายงานเท็จซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งบการเงินหลงลืมและยักยอกทรัพย์